วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีเขียนทัศนีย์ภาพแบบเร่งด่วน



บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องวาดภาพแบบด่วนๆเพื่อใช้ในการคุยเบื้องต้นกับลูกค้าหรือสรุปแนวความคิดเบื้องต้นในการออกแบบ การเขียนทัศนีย์ภาพคือสิ่งจำเป็น แต่บ่อยครั้งที่เมื่อเขียนแบบเร่งรีบมักจะพบว่าภาพมันเพี้ยน
แน่นอนว่าเวลามีไม่มาก แต่จะใช้ภาพตีบเพี้ยนมากๆก็ไม่ไหว ดังนั้น วิธีการต่อไปนี้ช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้


สังเกตจุด A B C D จะพบว่าถ้าเราเขียนกริตแบบคร่าวๆไว้จะช่วยให้เราอ้างอิงตำแหน่งสิ่งต่างๆที่เราจะวาดได้ง่ายขึ้น โดยอิงตำแหน่งจากแนวกริตที่เขียนไว้ ส่วนขนาดและความสูงของวัตถุเรากะเอาจากการอ้างอิงได้ โดยอ้างอิงว่าอะไรสูงกว่าอะไร อะไรใหญ่กว่าอะไร โดยดูจากขนาดช่องกริต สังเกตได้ว่ายิ่งวัตุอยู่กริตยิ่งเล็กลง วัตถุในภาพก็เช่นกัน










1
วาดแนวกริตขึ้นมาก่อนเพื่อกำหนดมุมมองของภาพคร่าวๆ

 2 ใส่วัตถุต่างๆโดยอิงตำแหน่งจากริตที่เราทำไว้พร้อมจัดองค์ประกอบไปด้วย สังเกตว่าที่เลขหนึ่งคือจุดรวมสายตา
3 ใส่รายละเอียดเข้าไปในส่วนต่างๆขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นมาก ถ้าเราวาดโครงภาพทั้งหมดไว้แล้ว
 4 ลงสีแบบด่วนๆ เพราะมีบางครั้งที่ต้องลงสีเพื่อกำหนดเป็นไกด์ให้กับคนในทีมในการนำแนวคิดไปพัฒนางานต่อไป


 ทั้งหมดเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ผมใช้ในการทำงานจริง มันช่วยให้เราแสดงแนวคิดออกมาได้เร็วมากขึ้น ก่อนที่จะเอาแนวคิดนี้ไปส่งต่อให้คนในทีม หลักในการเขียนทัศนียภาพที่ต้องอ้างอิงจากผังโครงการจะมีความความแม่นยำมากกว่า แต่ก็ใช้เวลามากในการเขียน อีกทั้งปัจจุบันการใช้ 3D เข้ามาช่วยนั้นใช้เวลาน้อยกว่า
ความแม่นยำของภาพดีกว่า เหมือนจริงกว่า แต่การเขียนมือแบบเร็วนั้นก็ยังจำเป็นในการทำงานอยู่ดี เพราะมันเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะแสดงแนวคิดให้คนในทีมเข้าใจ

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเนื้อหาหรืออ่านตรงไหนไม่เข้าใจสามารถบอกได้ ว่าจะให้เจาะเฉพาะเรื่องไหน
โดยบทความในส่วนนี้จะเน้นการทำเสนอเทคนิคเบื้องต้นสำหรับนักเรียน ม ปลายที่เตรียมตัวสำหรับเข้าเรียนในคณะหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับศิลปประยุกต์เป็นหลัก



บทความและภาพโดย ปรีดา ทาก้อน
Email takon_aom@hotmail.com